วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

ภูมิปัญญาภาษิตไทย


สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
สุภาษิต ความหมาย
ได้แก่คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนองสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมายเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
2. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย
สำนวน ความหมาย
ได้แก่คำที่พูดหรือกล่าวออกมาทำนองเป็นโวหาร เป็นคำพังเพยเปรียบเทียบ จึงฟังแล้วมักจะไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคลกับเรื่องหรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็นคติเตือนใจเช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต

คำพังเพย ความหมาย
ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้ แน่นอน
ตัวอย่าง
1.กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง หวังในสิ่งที่เกินตัว





เรียนรู้กันต่อนะค่ะ ....นะจ๊ะ































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น